17 กันยายน 2551
16 กันยายน 2551
เบเกอรี่
เวลาว่างช่วงหนึ่งของเจ้าของกิจการธุรกิจเบเกอรี่ : อา เบียงโต เขาเข้าอบรมเกี่ยวกับการทําขนม การอบรมครั้งนั้นทําให้เขามีความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ
ความเป็นมา
ช่วงนึงเธอนึกถึงความรู้เกี่ยวกับการทําขนมที่เคยอบรมมา จึงทดลองทําขนมที่พอจะทําได้
อย่างขนมปุยฝ้ายไปฝากแม่ค้าที่ตลาดรังสิตขาย การเริ่มต้นของเธอก็ไม่ต่างไปจากผู้ประกอบการใหม่รายอื่นๆ เธอไม่ได้ประสบความสําเร็จในทันที ขนมปุยฝ้ายของเธอขายไม่ได้ แต่เธอ
ก็ยังมุ่งมั่นและไม่ท้อ เธอบอกตัวเองว่าวันนี้ขายไม่ได้ พรุ่งนี้ก็อาจขายได้ ผ่านไปสักพักขนมของเธอก็เริ่มขายได้และมีลูกค้าซื้อประจํา จุดนี้เองที่ทําให้เธอรู้สึกว่า “น่าจะทําเป็นธุรกิจได้” แต่ก็ยังไม่คิดไกลถึงการเปิดร้านของตนเอง
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2543 ปกติครอบครัวของเธอต้องจัดซื้อของขวัญแจกให้กับญาติๆ แต่ปีนี้เธอเลือกที่จะทําขนมเค้กเป็นของขวัญปีใหม่ นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เธอได้ทําการตลาดให้กับขนมของเธอ หลังจากญาติๆ ได้รับขนมเค้ก ต่างก็ให้การสนับสนุนเธอด้วยการสั่งขนมเค้กไปแจกให้กับคนอื่นๆ บ้าง
เธอจึงเริ่มให้ความสนใจกับการทําขนมอบประเภทเบเกอรี่อย่างจริงจัง เธอปรับพื้นที่หน้าบ้าน ให้เป็นที่ตั้งของร้าน “เค้กอร่อย” โดยเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 เป็นต้นมา เธอตั้งชื่อร้านว่า “เค้กอร่อย” เพราะอยากสื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและคนที่ผ่านไปมาทราบว่า ที่นี่เค้กอร่อย แต่ต่อมาเธอก็มีความคิดอยากให้ร้านมีชื่อเก๋ๆ ฟังเป็นสากลมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อร้านจาก “เค้กอร่อย” เป็น “อา เบียงโต” (A bientot) ที่มีความหมายว่า แล้วกลับมาพบกันใหม่
กรรมวิธี
การผลิตขนมในแต่ละวัน เธอจะวางแผนการทํางานโดยจดรายการออกมาเลยว่าจะทําอะไรบ้าง เช่น วันจันทร์ จะทําขนมปังไส้ต่างๆ ถ้าเป็นไส้แห้ง อย่างลูกเกด หมูหยอง ก็สามารถนําไส้ใส่ในขนมปังได้เลย แต่ถ้าเป็นไส้ทูน่าหรือหมูแดง จะต้องเตรียมทําไส้ก่อน โดยแบ่งหน้าที่ให้พนักงาน 1 คน เตรียมไส้อีก 1 คน เตรียมแป้ง เตรียมถาด ช่วงที่พักขนมปัง 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ขนมปังขึ้นก่อนนําเข้าเตาอบ ก็เตรียมทําขนมประเภทที่ตีได้เร็ว อบได้เร็ว ทําเสร็จแล้วอบได้เลย เช่น คุกกี้ เค้ก หรือปุยฝ้าย ฯลฯ พออบเสร็จก็นําขนมปังเข้าอบต่อ เพื่อให้สามารถใช้เตาอบทํางานได้อย่างต่อเนื่อง
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
การทําธุรกิจเบเกอรี่โดยมีช่องทางจัดจําหน่ายหลักคือการขายส่ง ผู้ประกอบการไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันได้ แต่การที่จะดําเนินธุรกิจอยู่ได้ท่ามกลางการแข่งขันนั้น ผู้ประกอบการต้องรู้จักการทําให้สินค้าของตนแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งเจ้าของกิจการก็ตระหนักดีถึงความจริงในเรื่องนี้ จึงพัฒนารูปแบบขนมให้มีความแปลกใหม่ตลอดเวลา เพื่อดึงดูดความสนใจและไม่ให้ผู้บริโภครู้สึกจําเจกับขนมหน้าตาเดิมๆ แต่ละวันเธอจะเป็นคนคิดว่าจะต้องทําขนมอะไรบ้าง ส่วนรูปแบบของขนมก็จะปรึกษากับทีมผลิต หรือหากไปพบเห็นขนมที่ดูน่ารับประทานจากที่อื่น เธอก็จะนําข้อมูลมาปรึกษาและช่วยกันพัฒนาปรับปรุงขนมของเธอให้ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น
การขายขนมผ่านร้านค้าเหล่านี้ เธอบอกว่าต้องมีความอะลุ้มอล่วยซึ่งกันและกัน ขนมที่เธอส่งไปขายไม่ใช่การขายขาด ร้านค้าสามารถส่งคืนได้หากขายไม่หมด ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่จะรู้สึกพอใจเพราะไม่ต้องรับภาระในส่วนนี้
ปัจจุบันขนมนานาชนิดจาก “อา เบียงโต” ได้รับความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า ทั้งในบริเวณที่ตั้งร้าน และที่ห่างไกล เนื่องจากลูกค้าได้นําขนมของเธอไปเป็นของฝาก และผู้ที่ได้รับขนมนั้นติดใจในรสชาติ จึงทําให้ระยะทางที่ห่างไกลไม่เป็นอุปสรรคในการจําหน่ายเบเกอรี่
1. การทําธุรกิจเบเกอรี่ ผู้ประกอบการต้องหาวิธีทําให้สินค้าของตนเองแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น หากจะทําเบเกอรี่เหมือนคนอื่นก็ควรทําให้อร่อยกว่า ดีกว่า เ พราะเบเกอรี่เป็น
ขนมที่มีเทศกาลในการขายที่หลากหลาย หากทําดีๆ ก็มีโอกาสขายได้ตลอดเวลา
2. การทําธุรกิจของตนเอง ควรเลือกทําในสิ่งที่ตนมีความถนัด มีความชอบ หรือมีใจรัก
3. เมื่อเผชิญกับปัญหาในการดําเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการควรเปิดใจกว้างและพร้อมที่
จะให้ผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์มากกว่าช่วยแนะนําแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพราะการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเพียงลําพัง อาจทําให้ปัญหานั้นลุกลามหนักมากกว่าเดิมก็ได้
4. การทํางานทุกอย่างควรมีการวางแผน เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรในการผลิตได้อย่าง
เต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนและการสูญเสียในกระบวนการผลิตด้วย
โทรศัพท์ 081-363-3904
เฉาก๊วยชากังราว
เขาเลือกที่จะทํางานหลายอย่าง นอกเหนือจากการรับราชการ ทั้งขายเฟอร์นิเจอร์ ขายบ้านเรือน
เก่า ขายข้าวมันไก่-ข้าวขาหมู เรียกว่าอะไรที่ทําได้ ทําแล้วไม่ผิดกฎหมาย ทําแล้วมีรายได้ เขาทําทุกอย่าง ก่อนหน้าที่จะทําเฉาก๊วยชากังราว
เฉาก๊วยเป็นเพียงของหวานธรรมดาชนิดหนึ่ง ซึ่งจากการประเมิน คิดว่าคนไทยรู้จักเฉาก๊วย แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าเฉาก๊วยหน้าตาเป็นอย่างไร ดังนั้นการทําตลาดจึงต้องหารูปแบบที่แปลกใหม่ เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับผู้บริโภคในการไปออกบูธตามงานต่างๆ จะใช้เฉาก๊วยเป็นสื่อ โดยนําต้นเฉาก๊วยไปตกแต่งที่บูธ และนําเฉาก๊วยไปเคี่ยวในงาน เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักหน้าตาของต้นเฉาก๊วยและเป็นสื่อในการแนะนําผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวด้วย
1. การศึกษาหาความรู้ในสิ่งที่ตนมีความสนใจอย่างจริงจัง แม้จุดเริ่มต้นในการทําธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว จะมาจากเสียงชมในความอร่อยของเฉาก๊วยจากการไปออกงานในครั้ง
แรก แต่เสียงชมเหล่านั้นก็ไม่ได้ทําให้เขาหยุดอยู่เพียงแค่นั้น แต่ทําให้เขามุ่งมั่นที่จะค้นหารสชาติแท้จริงของเฉาก๊วยตามที่เขารู้สึกว่าใช่เลย จนกระทั่งประสบความสําเร็จ
2. ความมุ่งมั่นและไม่ท้อ ความสําเร็จที่ยั่งยืนและยาวนาน ย่อมเกิดจากความมุ่งมั่นและไม่ท้อของผู้ประกอบการที่จะบรรจงเจียระไนให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนมีมาตรฐานและมีคุณภาพตลอดเวลา
3. การรู้จักวิธีทําตลาดเพื่อให้สินค้าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รูปแบบของการนําต้นเฉาก๊วยไปโชว์ในงาน ตลอดจนการเคี่ยว การกวนเฉาก๊วยในงาน นอกจากจะเป็นการสร้างจุดสนใจให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาเยี่ยมชมแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดการทดลองซื้อ ทดลองชิมเฉาก๊วยด้วย
4. การดําเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจในการทําธุรกิจก็ทําให้คนอื่นๆ อยากร่วมทําธุรกิจด้วย
5. การสร้างคุณภาพและมาตรฐานให้สินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเครือข่ายธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องมาตรฐานสินค้านั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้ลูกค้าพูดถึงสินค้าของเราแบบปากต่อปาก หากสินค้าที่เราผลิตไม่มีมาตรฐาน กินทีไรรสชาติก็เปลี่ยนไปทุกครั้ง โอกาสที่สินค้านั้นจะเติบโตและอยู่ในตลาดได้ก็น้อยลง
โทรศัพท์ 055-717-450, 089-268-3157, 089-360-5092
Website : http://www.otopportal.com/preview_product.aspx?id=620100274701
ข้าวแต๋นน้ำแตงโม
นี่คือส่วนหนึ่งในการทําตากแห้งข้าวแต๋นนํ้าแตงโม หรือที่เรารู้จักกันดีว่า ”ขนมนางเล็ด” ปัจจุบัน
ขนมนางเล็ดถูกพัฒนามาเป็นข้าวแต๋นนํ้าแตงโมโรยด้วยหน้าต่างๆ เช่น ธัญพืช หมูหยอง งาขาว งาดํา ซึ่งล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น ด้วยราคาที่ถูก กับรสชาติที่ใครลิ้มลองแล้วจะต้องติดใจ แถมยังให้คุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย จึงไม่น่าแปลกที่ข้าวแต๋นนํ้าแตงโมกลายเป็นของฝากที่ใครๆ ต่างก็เรียกหา
จากการที่มีความสนใจโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของหมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ จังหวัดลําปาง และพี่สาวก็เป็นผู้ทําข้าวแต๋นนํ้าแตงโมที่มีชื่อเสียงรายหนึ่ง เจ้าของธุรกิจจึงหันมาจับธุรกิจข้าวแต๋นนํ้าแตงโม พร้อมกับใช้ความรู้ทางด้านการบริหาร การจัดการ และใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่มาพัฒนาตลาดให้ดียิ่งขึ้น
ข้าวแต๋นนํ้าแตงโมกําลังไปได้ดีทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศที่ให้การยอมรับ นอกจากจะสร้างรายได้และทํากําไรได้เป็นกอบเป็นกํ าแล้ว ยังช่วยให้กลุ่มแม่บ้านที่จังหวัดลําปางกว่า 70 คน มีงานทําและมีรายได้เสริมอีกด้วย
เป็นเวลานาน กว่าจะมาลงตัวที่นํ้าแตงโม เจ้าของกิจการเล่าว่า โดยปกติคนที่ชอบรับประทานขนมนางเล็ดจะรู้สึกฝืดคอ คอแห้ง เนื่องจากส่วนผสมหลักของขนมนางเล็ด คือ ข้าวเหนียว จากจุดนี้เองเราจึงพัฒนาขนมนางเล็ดให้เป็นข้าวแต๋นนํ้าแตงโม เพราะนํ้าแตงโมมีสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ช่วยดับกระหายคลายร้อนได้
ส่วนในเรื่องรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ เจ้าของกิจการกล่าวว่า จะต้องดูแนวโน้มของตลาดและนํามาพัฒนาว่าขณะนี้ลูกค้าต้องการอะไร บางทีเราก็ถามความเห็นของลูกค้าว่าต้องการแบบใด ผู้บริโภคจะรับได้หรือไม่ แล้วนํ าเสนอรูปแบบใหม่ๆสอดแทรกไปด้วย ณ วันนี้ข้าวแต๋นนํ้าแตงโมแม่บัวจันทร์ จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ลําปาง และได้รับความนิยมอย่างยิ่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นํามาประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจได้ ดังนี้
1. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสินค้าเมื่อเข้าสู่ตลาดในระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดความล้าสมัย ดังนั้นการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จะทําให้กิจการสามารถขยายฐานลูกค้า พร้อมทั้งขยายตลาดไป
ต่างประเทศได้
2. การประชาสัมพันธ์กิจการด้วยการจัดงานแสดงสินค้า (Trade Mart) ตามที่หน่วยงานภาครัฐบาลและภาคเอกชนส่งเสริมและสนับสนุนถือเป็นการช่วยให้กิจการได้ประโยชน์หลายด้านด้วยกัน เช่น การได้พบปะลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย การศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน รวมทั้งการรับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการ
โทรศัพท์ 0-2882-4103 / 08-1558-4983
Website :
http://www.thaitambon.com/tambon/tsmeplist.asp?ID=520114&SME=07130135450
http://www.otopportal.com/preview_product.aspx?id=520101754701
กล้วยหอมปรุงรส
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มแม่บ้านเกษตรบางเสด็จสามัคคี จึงคิดค้นวิธีการสร้างมูล
ค่าเพิ่มให้กับกล้วยหอม ด้วยการนํามาแปรรูปเป็น “กล้วยหอมปรุงรส หรือ กล้วยเบรคแตก” ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนกลายมาเป็นหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอ่างทอง
ในระยะแรก เป็นเพียงการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเหมือนที่เคยทํากันมา คือ การนํากล้วยหอมแก่ มาทอดกรอบ แล้วฉาบด้วยน้ำตาล ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำตาลขาวๆ เกาะอยู่ที่ผิวกล้วย หรือที่เรียกว่า กล้วยฉาบแบบโบราณนั่นเอง จนได้รับการสนับสนุนและการให้ความรู้จากทางเจ้าหน้าที่เกษตรอําเภอ เรื่องของการแปรรูปและกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
จากกล้วยฉาบแบบโบราณได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็นกล้วยเคลือบน้ำตาลแทน และยังมีการพัฒนารสชาติให้มีความหลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านและความรู้จากการฝึกอบรมต่างๆ
คุณสมบัติของกล้วยหอมเมื่อนํามาแปรรูป คือ กล้วยหอมจะให้ความหอมของกลิ่นกล้วยโดยไม่ต้องแต่งกลิ่นสังเคราะห์ มีความกรอบนุ่ม ทางกลุ่มฯแนะนําเคล็ดลับการผลิตว่า ควรใช้น้ำเกลือแช่กล้วย เนื่องจากน้ำเกลือจะช่วยทําให้มีความกรอบ นุ่ม แต่ถ้าใช้น้ำปูน กล้วยจะแข็งกระด้าง ไม่น่ารับประทาน
เริ่มแรกของการทำนั้น สูตรกล้วยทอดปรุงรสมีรสหวานเพียงรสชาติเดียว ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี
จนในปี 2544 ทางกลุ่มฯตัดสินใจส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดกับศูนย์ศิลปาชีพบางไทรและได้รับรางวัลชนะเลิศ ขณะนั้น กลุ่มฯได้ส่งกล้วยแปรรูปรสหวาน แต่ไม่ได้อบเนย เพราะกล้วยหอมมีกลิ่นที่หอมชวนรับประทานอยู่แล้ว และการไม่ใช้เนย ยังทําให้กล้วยปรุงรสของกลุ่มบางเสด็จสามารถเก็บรักษาได้นาน ไม่มีกลิ่นหืน ผลจากการประกวด ทําให้กล้วยแปรรูปปรุงรสของกลุ่มเกษตรบางเสด็จสามัคคีเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์แบบคนบางเสด็จ คือ ความกรอบ หอม นุ่ม อร่อย หรือเรียกได้ว่า “กล้วยเบรคแตก อร่อยจนหยุดไม่ได้”
บรรจุภัณฑ์ในสมัยแรกๆ เป็นเพียงถุงพลาสติกใส ผนึกถุงด้วยการลนเทียน ผลิตภัณฑ์จึงมีอายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น เนื่องจากอากาศจากภายนอกสามารถเข้าไปทําให้ขนมเสื่อมคุณภาพได้รวดเร็ว รวมถึงยังไม่มีในเรื่องของตราสินค้า ใช้เพียงสติ๊กเกอร์พิมพ์ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของกลุ่มฯเท่านั้น
แต่ต่อมาทางกลุ่มฯได้รับงบสนับสนุนในการจัดซื้อเครื่องจักรสําหรับผนึกซองขนมและบรรจุภัณฑ์รูป พร้อมได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนะนําเรื่องการใช้ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สร้างตลาด เพราะการมีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ดี จะช่วยทําให้สามารถขายสินค้าได้ง่าย เป็นที่รู้จักและจดจําของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อมองเห็นถึงความสําคัญของตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์จึงได้รับการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของสภาพตลาดในปัจจุบัน ทางกลุ่มฯจึงใช้ชื่อตราสินค้าว่า “แม่คะนึงสุข” พร้อมกับปรับปรุงบรรจุภัณฑ์จากถุงพลาสติกใสธรรมดา เป็นถุงฟลอยด์ที่ออกแบบให้มีสีสันสวยงาม ซึ่งถุงฟลอยด์จะช่วยถนอมผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นและความสวยงามของบรรจุภัณฑ์จะช่วยสร้างความสะดุดตาให้ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น นอกจากบรรจุภัณฑ์แบบถุงฟลอยด์แล้ว ทางกลุ่มฯยังได้เพิ่มเติมบรรจุภัณฑ์แบบกล่องของขวัญ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการนํากล้วยแปรรูปของกลุ่มฯไปเป็นของขวัญของฝากในโอกาสต่างๆ อีกด้วย
ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ของกลุ่มแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามช่องทางการจัดจําหน่าย เช่น การจําหน่ายในชุมชนก็บรรจุถุงพลาสติกใสธรรมดา ขนาด 80 กรัม จําหน่ายในราคา 10 บาท ส่วนการจําหน่ายตามร้านค้าหรืองานแสดงสินค้า จะมีทั้งแบบเป็นกล่องของขวัญ และแบบถุงฟลอยด์
สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
ทางกลุ่มฯเล่าว่า การผลิตกล้วยแปรรูป ปัญหาที่ประสบ คือ กล้วยหัก ทําให้ต้องมีขั้นตอนคัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยการร่อนและคัดเลือกเฉพาะกล้วยทอดที่สมบูรณ์ ไม่หัก ก่อนการนําไปบรรจุทุกครั้ง โดยปริมาณความสูญเสียที่ 500 กิโลกรัม จะได้เศษหักประมาณ 20 กิโลกรัม
ความสูญเสียลักษณะดังกล่าวไม่สามารถป้องกันได้ แต่ทางกลุ่มฯได้นําเศษหักเหล่านี้มาทําให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ นั้นก็คือ กระยาสารทกล้วย นับเป็นความสําเร็จอย่างยิ่งของกลุ่ม การนําเศษกล้วยแปรรูปที่หักมาเป็นส่วนผสมของกระยาสารทแทนการใช้ข้าวเม่า ทําให้กระยาสารทมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมของกล้วยหอม หวานกลมกล่อม กระยาสารทกล้วยของกลุ่มแม้บ้านเกษตรบางเสด็จสามัคคี กําลังได้รับการตอบเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนและชุมชนอื่นๆ และจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ให้ติดตลาดในอนาคต
นอกจากการนํามาแปรรูปเป็นกระยาสารทกล้วยแล้ว ทางกลุ่มฯยังนําเศษหักเหล่านั้นมาบรรจุลงถุงพลาสติกใส จําหน่ายให้กับนักเรียนและร้านค้าในชุมชน ในราคาถูกกว่าราคาปกติ หรือที่เรียกว่า สินค้าเกรดบีแต่คุณภาพเกรดเอ ทางกลุ่มฯกล่าวว่า “ถึงแม้ว่าจะเป็นเศษหัก แต่คุณภาพความอร่อยยังเหมือนเดิม”
ความสําเร็จของกลุ่มฯยังให้การสนับสนุนนักเรียนในโรงเรียนวัดสวนแก้ว ด้วยการสอนวิธีการผลิตและแปรรูปสินค้าให้กับนักเรียน พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่งหลังจากการแบ่งปันให้กับสมาชิกแล้ว ยังนํามาเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียน และนําไปสร้างสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ให้กับชุมชนบางเสด็จ
ถึงวันนี้ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านมีจํานวนเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก เงินลงหุ้นสูงถึง 70,000 บาท และมีการปันผลให้กับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ การรวมกลุ่มสร้างอาชีพของชาวบางเสด็จ นอกจากช่วยแก้ไขปัญหาราคากล้วยตกต่ำแล้ว ยังสามารถต่อยอดจนสามารถรายได้เสริมให้กับสมาชิกในกลุ่มและคนในชุมชน
ปัจจุบัน กล้วยหอมปรุงรสของกลุ่มฯมีทั้งสิ้น 3 รสชาติ คือ รสหวาน รสกระเทียม รสชาใบหม่อน และในอนาคตจะออกรสชาติใหม่เพิ่มขึ้น เช่น รสพริกเผา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรการผลิต สําหรับช่องทางการจัดจําหน่ายในปัจจุบัน ประกอบด้วย บริษัทวิสาหกิจชุมชน ร้านค้าในชุมชนต่างๆ ของจังหวัดอ่างทอง หน่วยงานราชการภายในจังหวัดอ่างทอง ศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรตําบลบางเสด็จ และ บริษัท สุวรรณชาติ จํากัด
1. หาจุดเด่น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
2. สร้างชื่อตราสินค้าและโลโก้ให้มีเอกลักษณ์จดจําง่าย ทางกลุ่มเกษตรแม่บ้านบาง
เสด็จสามัคคีจึงสร้างชื่อตราสินค้าพร้อมโลโก้ที่มีรูปแบบสวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ให้ลูกค้าจดจําตราสินค้าได้อย่างแม่นยํามากยิ่งขึ้น
3. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและแข็งแรง
4. วางแผนการผลิต เพราะนอกจากจะทําให้การผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ยังสามารถ
ควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพสม่ำเสมอด้วย วิธีการวางแผนการผลิตของผู้ประกอบการ คือ การประมาณการยอดขาย เพื่อนํามากําหนดปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ในแต่ละวัน อันจะช่วยป้องกันปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลา
สถานที่ติดต่อผู้ประกอบการ : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางเสด็จสามัคคี เลขที่ 45 หมู่ 1 ตําบลบางเสด็จ อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 14130 โทรศัพท์ : 035-662-559 , 081-852-0598
Website : http://www.otop5star.com/pop_up01-th.php?id=60
กระยาสารท
“แรกที่ทํากระยาสารทก็เพื่อเก็บไว้กินเอง แต่เห็นว่า กระยาสารท เป็นขนมที่สามารถใช้เป็นของฝากได้ตลอดปี ก็เลยหันมาทํากระยาสารทแบบชั่งขายเป็นกิโลกรัม จนคนเรียกว่ากระยาสารทหลงฤดู”
คุณลักษณะของกระยาสารท
• ลักษณะทั่วไป : ต้องมีความเหนียวพอเหมาะ ส่วนประกอบเกาะตัวกันดีและมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ถ้าตัดเป็นชิ้น แต่ละชิ้นต้องไม่ติดกันแน่นและแยกออกได้ง่ายด้วยมือโดยไม่เสียรูปทรง
• สี : ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้
• กลิ่นรส : ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่
พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน รสขม
• ลักษณะเนื้อสัมผัส : ต้องเหนียวพอเหมาะ ไม่ร่วนหรือแข็งกระด้าง
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างมาตรฐานสินค้า
กระยาสารทที่ผลิตออกวางขาย จะอยู่ในรูปของกระยาสารทบรรจุซองพลาสติก โดยจะแยกสีของบรรจุภัณฑ์สําหรับการทําตลาดในแต่ละกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยกระยาสารทที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกสีแดงจะเป็นกระยาสารทสูตรพิเศษที่ลูกค้าส่วนใหญ่ร้จักกันดี
สําหรับบรรจุภัณฑ์รูปแบบกล่องกระดาษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังเป็นรูปแบบที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งกำลังทําการปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยกระยาสารทที่บรรจุไว้ข้างในกล่องจะทําเป็นชิ้นเล็กๆ บรรจุในห่อพลาสติกใสอีกทีหนึ่ง เพื่อให้สะดวกในการบริโภคและการเก็บรักษาในกรณีที่ลูกค้าซื้อไปแล้วรับประทานยังไม่หมด
ช่องทางการจัดจำหน่าย
การจัดจําหน่ายกระยาสารทแม่ฉลอง จะขายให้ผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดกําแพงเพชรและจังหวัดอื่นๆ เพื่อนําไปขายต่อ และมีจุดส่งให้ร้านขายของฝาก ซึ่งจะมีเครือข่ายร้านขายของฝากค่อนข้างเยอะ เพราะทําธุรกิจมานานแล้ว นอกจากนี้ยังรับผลิตกระยาสารทตามที่ผู้ประกอบการสั่ง
1. การนําภูมิปัญญาดั้งเดิมมาพัฒนาเป็นสินค้า กระยาสารทเป็นขนมที่มีการทํามานานแล้ว ซึ่งถ้าจะนำมาพัฒนาเป็นสินค้า ผู้ประกอบการต้องให้ความสําคัญกับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุง เพื่อให้ภูมิปัญญานั้นกลายเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับยุคสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
2. การสร้างความแตกต่างให้สินค้าด้วย “ตราสินค้า” เจ้าของกิจการนําตราสินค้า “แม่ฉลอง” มาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจํากระยาสารทได้ ทั้งยังช่วยให้การจัดจําหน่ายและการขยายตลาดทําได้ง่ายขึ้น เพราะตราสินค้าแม่ฉลองเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในกลุ่มลูกค้าและร้านค้าตัวแทนจําหน่ายต่างๆ
3. สร้างคุณภาพสินค้าด้วยการเลือกสรรวัตถุดิบ ในการผลิตกระยาสารท เจ้าของกิจการพยายามรักษามาตรฐานและคุณภาพของสินค้าด้วยการเลือกสรรวัตถุดิบที่จะนํามาใช้ในการผลิต อีกทั้งยังให้ความใส่ใจในการผลิตทุกขั้นตอน จัดสรรการทํางานในโรงงานให้มีระบบ
Website : http://www.otopportal.com/preview_product.aspx?id=620100294701
ขนมไทยประเภทต่างๆ
ประเภทกวน
กวน (stir) หมายถึง การนำอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นของเหลวผสม ให้รวมเข้าเป็น เนื้อเดียวกันจนข้นและเหนียว โดยใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคนอาหารไปจนทั่วด้วยความแรง และเร็ว ไปในทิศทางเดียวกัน จนอาหารนั้นเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน
ประเภทนึ่ง
การนึ่ง คือ การให้ความร้อนขึ้นกับอาหารที่ต้องการทำให้สุก โดยการใช้ภาชนะ 2 ชั้น ชั้น
ล่างสำหรับใส่น้ำต้มให้เดือด ชั้นบนมีช่องหรือตะแกรงสำหรับวางอาหารหรือมีภาชนะที่มีแผ่นตะแกรงเพื่อวางอาหารเหนือน้ำ และไอน้ำเดือดจากด้านล่างสามารถลอยตัวขึ้นเบื้องบนผ่านตะแกรงทำให้อาหารสุกได้ เช่น การนึ่งขนมปุยฝ้าย ขนมชั้น เป็นต้น
ประเภทเครื่องไข่
เป็นขนมที่มีไข่เป็นส่วนประกอบหลักมีน้ำตาล และแป้งเป็นส่วนประกอบรอง ส่วนใหญ่จะ
ทำให้สุกด้วยวิธีการต้ม เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด เป็นต้น
ประเภทเชื่อม
การเชื่อมส่วนใหญ่จะทำกับผลไม้โดยการนำผลไม้ต้มในน้ำเชื่อม จนกระทั่งผลไม้มี
ลักษณะนุ่มและขึ้นเงา โดยระหว่างเชื่อมช่วงแรกน้ำเชื่อมจะใส แล้วจึงต้มต่อไปจนน้ำเชื่อมข้นแต่ต้องไม่เชื่อมให้น้ำเชื่อมข้นเกินไป จะมีผลทำให้น้ำในเซลผลไม้ไหลออกมาโดยขบวนการออสโมซิส ทำให้ผลไม้เหี่ยวลงและแข็ง แต่ถ้าเป็นผลไม้ชนิดเนื้อแข็งแน่นและบางชนิดมียางในการเชื่อมจะต้องมีเทคนิคช่วยเสริม คือ ต้มในน้ำก่อนหรือแช่ในน้ำปูนใสก่อนต้มและเชื่อม
ประเภทต้ม
การทำอาหารให้สุกโดยวิธีการต้มจะใช้น้ำหรือของเหลวปริมาณมากเป็นตัวกลางนำความ
ร้อน โดยใส่อาหารที่จะทำให้สุกลงในของเหลวนั้น ได้แก่ น้ำกะทิ นม เป็นต้น หลักสำคัญของการต้ม คือ เมื่อทำให้ของเหลวเดือดแล้ว ลดความร้อนลงเพื่อให้เดือดเบา ๆ อาหารที่ต้มอาจใส่ลงไปขณะที่น้ำเย็น หรือต้มให้น้ำเดือดก่อน แล้วใส่อาหารลงไป แล้วต้มให้เดือดต่อ แล้วจึงลดไฟลงให้เดือดเบาๆ เช่น การทำบัวลอย ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว วุ้นกะทิ เป็นต้น
ขนมไทยในวิถีไทย
ขนมไทยผูกพันแน่นแฟ้นกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน และทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบันขนมไทยเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตของคนไทย แม้การขายขนมจะไม่มีการทำอย่างแพร่หลายในสมัยก่อน คนไทยก็รู้จักที่จะทำขนมกินกันเอง เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตร สังคมชนบทที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมาย อาทิ มะพร้าว ตาล ที่ปลูกอยู่ในผืนดินของตนเอง ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวเม่า ข้าวตอก ฯลฯ ถ้าอยากได้กะทิก็ไปเก็บมะพร้าวมาขูดแล้วครั้นเอาน้ำ ถ้าอยากได้แป้ง ข้าวก็มีพร้อมเพราะปลูกเอง โม่หรือหินโม่แป้งก็มีอยู่ทุกบ้าน เอามาโม่เข้าไม่นานก็จะได้แป้งสำหรับทำขนมอร่อย ๆ กินกันเองในครอบครัว ถ้าทำจำนวนมากก็นำไปแบ่งปันให้เพื่อนบ้านได้ลิ้มรสด้วย
ขนมครกกับขนมกล้วยดูจะเป็นขนมยอดนิยมที่สุด เพราะส่วนผสมหรือเครื่องปรุงนั้นหาง่าย ตลอดจนกรรมวิธีในการทำก็ง่ายแสนง่ายทั้งเตาขนมครกก็มีขายมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ส่วนกล้วยและมะพร้าวก็มีกินกันอย่างเหลือเฟือหากไม่นำมาทำขนมกินก็ต้องเหลือทิ้งไปเปล่า ๆ
ขนมน้ำเป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมทำกินกัน ที่ทำง่ายและนิยมกินที่สุดเห็นจะได้แก่ขนมพวกแกงบวดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฟักทองบวช มันบวช กล้วยบวชชี ถัดจากขนมน้ำก็ยังมีการถนอมอาหารเก็บไว้กินนาน ๆ ประเภทขนมเชื่อมและขนมกวนรวมไปถึงผลไม้ดองและผลไม้แช่อิ่มอีกด้วย
คนไทยที่กินขนมไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นคนในสังคมชนบท แต่ใช่ว่าคนเมืองจะไม่กินเอาเสียเลย เพราะนอกจากขนมฝรั่งอย่าง โดนัท เค้ก คุกกี้ พุดดิ้ง วาฟเฟิล คัสตาร์ด พาย ฯลฯ แล้ว ขนมไทย ๆ อย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมเบื้อง ขนมน้ำดอกไม้ ทองม้วน ก็ยังติดอันดับขนมยอดฮิตที่มีคนนิยมกินกันมากเช่นกัน
สรุปได้ว่าขนมไทยมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการกินของไทยชนิดแยกกันไม่ออกมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ถึงแม้ภายหลังจะมีขนมของชาติตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากก็ตาม และแม้ขนมไทยส่วนหนึ่งจะสูญหายไปจากความนิยมในสังคมไทย แต่ก็ยังมีขนมไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ยังสร้างสีสันด้วยรสชาติหอมหวานอยู่ในวัฒนธรรมไทยดังนั้นคงจะไม่แปลกหรือเป็นการเกินเลยหากจะกล่าวเป็นสากลว่า "Thai desserts never died" หรือหากตราบใดที่วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่ ขนมไทยก็จะยังคงฝังอยู่อย่างแนบแน่นเช่นเคย
ความเป็นมาของขนมไทย
" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
อีกข้อสันนิษฐาน คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม" ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม" ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็ คือ วรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่ได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ
จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรมขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา