16 กันยายน 2551

กล้วยหอมปรุงรส

ไทย : eng
กล้วยหอมปรุงรส : ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรบางเด็จสามัคคี
กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจของตําบลบางเสด็จสามัคคี อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อจําหน่ายผลสดเพียงอย่างเดียว เมื่อปลูกกันมาก ปัญหาที่ตามมาคือ สินค้าเกษตรล้นตลาด ราคาผลผลิตจึงตกต่ำ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มแม่บ้านเกษตรบางเสด็จสามัคคี จึงคิดค้นวิธีการสร้างมูล
ค่าเพิ่มให้กับกล้วยหอม ด้วยการนํามาแปรรูปเป็น “กล้วยหอมปรุงรส หรือ กล้วยเบรคแตก” ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนกลายมาเป็นหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอ่างทอง


ความเป็นมา
การรวมกลุ่มของชาวบ้านบางเสด็จสามัคคี เริ่มต้นขึ้นประมาณปี 2541 เกษตรกรในชุมชนประสบปัญหาเรื่องราคากล้วยหอมทองตกต่ำอย่างหนัก ทางกลุ่มจึงคิดวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกล้วยหอมทองด้วยการนํามาแปรรูป เพื่อบรรเทาปัญหาราคากล้วยตกต่ำและสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน
ในระยะแรก เป็นเพียงการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเหมือนที่เคยทํากันมา คือ การนํากล้วยหอมแก่ มาทอดกรอบ แล้วฉาบด้วยน้ำตาล ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำตาลขาวๆ เกาะอยู่ที่ผิวกล้วย หรือที่เรียกว่า กล้วยฉาบแบบโบราณนั่นเอง จนได้รับการสนับสนุนและการให้ความรู้จากทางเจ้าหน้าที่เกษตรอําเภอ เรื่องของการแปรรูปและกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
จากกล้วยฉาบแบบโบราณได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็นกล้วยเคลือบน้ำตาลแทน และยังมีการพัฒนารสชาติให้มีความหลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านและความรู้จากการฝึกอบรมต่างๆ



กรรมวิธี
ทางกลุ่มฯนํากล้วยหอมทองเป็นวัตถุดิบหลัก โดยมีวิธีการผลิต คือ นํากล้วยหอมทองแก่มาปอกเปลือก สไลด์ให้เป็นแผ่นกลมบาง จากนั้น นําไปแช่น้ำเกลือเพื่อช่วยทําให้กล้วยมีความกรอบนุ่ม และทอดในน้ำมันพืชที่สะอาดจนเหลือง กรอบ ซับน้ำมันให้แห้ง จากนั้น ฉาบกับน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ ทิ้งให้เย็น แล้วจึงบรรจุถุงจําหน่าย
คุณสมบัติของกล้วยหอมเมื่อนํามาแปรรูป คือ กล้วยหอมจะให้ความหอมของกลิ่นกล้วยโดยไม่ต้องแต่งกลิ่นสังเคราะห์ มีความกรอบนุ่ม ทางกลุ่มฯแนะนําเคล็ดลับการผลิตว่า ควรใช้น้ำเกลือแช่กล้วย เนื่องจากน้ำเกลือจะช่วยทําให้มีความกรอบ นุ่ม แต่ถ้าใช้น้ำปูน กล้วยจะแข็งกระด้าง ไม่น่ารับประทาน
เริ่มแรกของการทำนั้น สูตรกล้วยทอดปรุงรสมีรสหวานเพียงรสชาติเดียว ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี
จนในปี 2544 ทางกลุ่มฯตัดสินใจส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดกับศูนย์ศิลปาชีพบางไทรและได้รับรางวัลชนะเลิศ ขณะนั้น กลุ่มฯได้ส่งกล้วยแปรรูปรสหวาน แต่ไม่ได้อบเนย เพราะกล้วยหอมมีกลิ่นที่หอมชวนรับประทานอยู่แล้ว และการไม่ใช้เนย ยังทําให้กล้วยปรุงรสของกลุ่มบางเสด็จสามารถเก็บรักษาได้นาน ไม่มีกลิ่นหืน ผลจากการประกวด ทําให้กล้วยแปรรูปปรุงรสของกลุ่มเกษตรบางเสด็จสามัคคีเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์แบบคนบางเสด็จ คือ ความกรอบ หอม นุ่ม อร่อย หรือเรียกได้ว่า “กล้วยเบรคแตก อร่อยจนหยุดไม่ได้”



การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ รองรับตลาดใหม่
บรรจุภัณฑ์ในสมัยแรกๆ เป็นเพียงถุงพลาสติกใส ผนึกถุงด้วยการลนเทียน ผลิตภัณฑ์จึงมีอายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น เนื่องจากอากาศจากภายนอกสามารถเข้าไปทําให้ขนมเสื่อมคุณภาพได้รวดเร็ว รวมถึงยังไม่มีในเรื่องของตราสินค้า ใช้เพียงสติ๊กเกอร์พิมพ์ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของกลุ่มฯเท่านั้น
แต่ต่อมาทางกลุ่มฯได้รับงบสนับสนุนในการจัดซื้อเครื่องจักรสําหรับผนึกซองขนมและบรรจุภัณฑ์รูป พร้อมได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนะนําเรื่องการใช้ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สร้างตลาด เพราะการมีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ดี จะช่วยทําให้สามารถขายสินค้าได้ง่าย เป็นที่รู้จักและจดจําของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อมองเห็นถึงความสําคัญของตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์จึงได้รับการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของสภาพตลาดในปัจจุบัน ทางกลุ่มฯจึงใช้ชื่อตราสินค้าว่า “แม่คะนึงสุข” พร้อมกับปรับปรุงบรรจุภัณฑ์จากถุงพลาสติกใสธรรมดา เป็นถุงฟลอยด์ที่ออกแบบให้มีสีสันสวยงาม ซึ่งถุงฟลอยด์จะช่วยถนอมผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นและความสวยงามของบรรจุภัณฑ์จะช่วยสร้างความสะดุดตาให้ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น นอกจากบรรจุภัณฑ์แบบถุงฟลอยด์แล้ว ทางกลุ่มฯยังได้เพิ่มเติมบรรจุภัณฑ์แบบกล่องของขวัญ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการนํากล้วยแปรรูปของกลุ่มฯไปเป็นของขวัญของฝากในโอกาสต่างๆ อีกด้วย
ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ของกลุ่มแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามช่องทางการจัดจําหน่าย เช่น การจําหน่ายในชุมชนก็บรรจุถุงพลาสติกใสธรรมดา ขนาด 80 กรัม จําหน่ายในราคา 10 บาท ส่วนการจําหน่ายตามร้านค้าหรืองานแสดงสินค้า จะมีทั้งแบบเป็นกล่องของขวัญ และแบบถุงฟลอยด์

สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
ทางกลุ่มฯเล่าว่า การผลิตกล้วยแปรรูป ปัญหาที่ประสบ คือ กล้วยหัก ทําให้ต้องมีขั้นตอนคัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยการร่อนและคัดเลือกเฉพาะกล้วยทอดที่สมบูรณ์ ไม่หัก ก่อนการนําไปบรรจุทุกครั้ง โดยปริมาณความสูญเสียที่ 500 กิโลกรัม จะได้เศษหักประมาณ 20 กิโลกรัม
ความสูญเสียลักษณะดังกล่าวไม่สามารถป้องกันได้ แต่ทางกลุ่มฯได้นําเศษหักเหล่านี้มาทําให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ นั้นก็คือ กระยาสารทกล้วย นับเป็นความสําเร็จอย่างยิ่งของกลุ่ม การนําเศษกล้วยแปรรูปที่หักมาเป็นส่วนผสมของกระยาสารทแทนการใช้ข้าวเม่า ทําให้กระยาสารทมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีกลิ่นหอมของกล้วยหอม หวานกลมกล่อม กระยาสารทกล้วยของกลุ่มแม้บ้านเกษตรบางเสด็จสามัคคี กําลังได้รับการตอบเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนและชุมชนอื่นๆ และจะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ให้ติดตลาดในอนาคต
นอกจากการนํามาแปรรูปเป็นกระยาสารทกล้วยแล้ว ทางกลุ่มฯยังนําเศษหักเหล่านั้นมาบรรจุลงถุงพลาสติกใส จําหน่ายให้กับนักเรียนและร้านค้าในชุมชน ในราคาถูกกว่าราคาปกติ หรือที่เรียกว่า สินค้าเกรดบีแต่คุณภาพเกรดเอ ทางกลุ่มฯกล่าวว่า “ถึงแม้ว่าจะเป็นเศษหัก แต่คุณภาพความอร่อยยังเหมือนเดิม”



รางวัลแห่งความสำเร็จ : รางวัล OTOP 5 ดาวระดับประเทศ
ทางกลุ่มฯกล่าวว่า การส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดบ่อยๆ เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าไปในตัว พร้อมยังเป็นเครื่องหมายของการรับรองคุณภาพ และความอร่อยของตัวสินค้าอีกด้วย รางวัลที่ทางกลุ่มฯภูมิใจที่สุด คือ รางวัลระดับ 5 ดาว ของการประกวดสินค้าโอทอประดับประเทศ ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดที่เคยได้รับมา แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
ความสําเร็จของกลุ่มฯยังให้การสนับสนุนนักเรียนในโรงเรียนวัดสวนแก้ว ด้วยการสอนวิธีการผลิตและแปรรูปสินค้าให้กับนักเรียน พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่งหลังจากการแบ่งปันให้กับสมาชิกแล้ว ยังนํามาเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียน และนําไปสร้างสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ให้กับชุมชนบางเสด็จ
ถึงวันนี้ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านมีจํานวนเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก เงินลงหุ้นสูงถึง 70,000 บาท และมีการปันผลให้กับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ การรวมกลุ่มสร้างอาชีพของชาวบางเสด็จ นอกจากช่วยแก้ไขปัญหาราคากล้วยตกต่ำแล้ว ยังสามารถต่อยอดจนสามารถรายได้เสริมให้กับสมาชิกในกลุ่มและคนในชุมชน
ปัจจุบัน กล้วยหอมปรุงรสของกลุ่มฯมีทั้งสิ้น 3 รสชาติ คือ รสหวาน รสกระเทียม รสชาใบหม่อน และในอนาคตจะออกรสชาติใหม่เพิ่มขึ้น เช่น รสพริกเผา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรการผลิต สําหรับช่องทางการจัดจําหน่ายในปัจจุบัน ประกอบด้วย บริษัทวิสาหกิจชุมชน ร้านค้าในชุมชนต่างๆ ของจังหวัดอ่างทอง หน่วยงานราชการภายในจังหวัดอ่างทอง ศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรตําบลบางเสด็จ และ บริษัท สุวรรณชาติ จํากัด



เทคนิคการสร้างแบรนด์โลก
จากธุรกิจกล้วยแปรรูปปรุงรส ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรบางเสด็จสามัคคี ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถนําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ ดังนี้
1. หาจุดเด่น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
2. สร้างชื่อตราสินค้าและโลโก้ให้มีเอกลักษณ์จดจําง่าย ทางกลุ่มเกษตรแม่บ้านบาง
เสด็จสามัคคีจึงสร้างชื่อตราสินค้าพร้อมโลโก้ที่มีรูปแบบสวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ให้ลูกค้าจดจําตราสินค้าได้อย่างแม่นยํามากยิ่งขึ้น
3. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและแข็งแรง
4. วางแผนการผลิต เพราะนอกจากจะทําให้การผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ยังสามารถ
ควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพสม่ำเสมอด้วย วิธีการวางแผนการผลิตของผู้ประกอบการ คือ การประมาณการยอดขาย เพื่อนํามากําหนดปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ในแต่ละวัน อันจะช่วยป้องกันปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนในแต่ละช่วงเวลา





ติดต่อ
สถานที่ติดต่อผู้ประกอบการ : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางเสด็จสามัคคี เลขที่ 45 หมู่ 1 ตําบลบางเสด็จ อําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 14130 โทรศัพท์ : 035-662-559 , 081-852-0598
Website : http://www.otop5star.com/pop_up01-th.php?id=60

ไม่มีความคิดเห็น: